ไวรัสตับอักเสบอี (Hepatitis E Virus)

 17 Feb 2024  เปิดอ่าน 3651 ครั้ง

ไวรัสตับอักเสบอี พบการระบาดครั้งแรกในประเทศอินเดีย แต่ปัจจุบันสามารถพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีได้ทั้งในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้ว โดยสายพันธุ์ที่พบในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันออกไป ไวรัสตับอักเสบอีมีทั้งหมด 8 สายพันธุ์ แต่มี 4 สายพันธุ์ที่ก่อโรคในคน ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 1, 2, 3 และ 4


การติดต่อ

ไวรัสตับอักเสบอีติดต่อผ่านการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด การระบาดของไวรัสตับอักเสบอีสายพันธุ์ที่ 1 และ 2 มักเกิดในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากมาตรฐานความสะอาด มีการปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำดื่ม เช่น ตามหลังการเกิดฝนตกหนัก น้ำท่วม แล้วเผลอนำอุจจาระที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก (Fecal oral route) ส่วนไวรัสตับอักเสบอีสายพันธุ์ที่ 3 และ 4 พบได้มากกว่าในประเทศไทยและประเทศพัฒนาแล้ว ติดต่อผ่านการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื้อหมู เนื่องจากหมูสามารถติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีได้ ส่วนการติดต่อของไวรัสตับอักเสบอีจากคนสู่คนและจากแม่สู่ลูกนั้นพบได้น้อยมาก


อาการแสดง

เมื่อติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีจะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 2-10 สัปดาห์ ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีส่วนมากมักไม่มีอาการ (Asymptomatic) และสามารถหายเองได้ (Self-limiting) ส่วนอาการอื่นที่พบได้ เช่น ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย (Flu-like symptom) เบื่ออาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม คันตามตัว ในบางรายอาจเกิดตับอักเสบ ตับวายเฉียบพลันได้ ส่วนการเกิดตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบอีพบได้น้อย และพบในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีสายพันธุ์ที่ 3 และ 4 ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเท่านั้น เช่น ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างให้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยเอชไอวี เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่สามารถกำจัดเชื้อเองได้

อาการแสดงของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีแตกต่างกันไปตามอายุ ลักษณะของผู้ป่วย ผู้ป่วยเด็กอาการมักไม่รุนแรง ในขณะที่หญิงตั้งครรภ์อาจมีอาการรุนแรงเกิดตับวายเฉียบพลัน และเสียชีวิตได้ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตร


การวินิจฉัย

ปัจจุบันจึงใช้การตรวจทาง Serology หาแอนตี้บอดี้ต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบอีในเลือด (Anti-HEV IgM และ IgG) เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยการติดเชื้อ

การวินิจฉัยหลักคือการยืนยันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีได้โดยการตรวจหาปริมาณไวรัส (HEV RNA) ด้วยวิธี Polymerase chain reaction (PCR) แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดในการตรวจ สามารถส่งตรวจได้เฉพาะโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบางแห่ง จึงไม่เป็นที่นิยมใช้ในทางคลินิก


การรักษา

โดยทั่วไปการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีสามารถหายเองได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาประคับประคอง ให้ยาตามอาการ เช่น รับประทานอาหารอ่อน สุกสะอาด ให้ยาแก้อาเจียนหากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังการเกิดภาวะตับวายเฉียบพลัน ส่วนผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีเรื้อรัง อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัส


การป้องกัน

เนื่องจากไวรัสตับอักเสบอีติดต่อผ่านการรับประทานอาหารที่ไม่สุกสะอาด น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อน การป้องกันจึงทำได้โดยรักษาสุขอนามัย รับประทานอาหารปรุงสุก น้ำต้มสุก

ส่วนวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบอีมีประสิทธิภาพดี สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 87% แต่ปัจจุบันมีใช้ในประเทศจีนเท่านั้น


References

  • Mark Feldman, Lawrence S. Friedman, Marvin H. Sleisenger. (2020). Sleisenger & Fordtran's gastrointestinal and liver disease : pathophysiology, diagnosis, management. Philadelphia :Saunders,
  • มณฑิรา มณีรัตนะพร, สุพจน์ นิ่มอนงค์, อวยพร เค้าสมบัติวัฒนา. Practical Gastroenterology and Hepatology. กรุงเทพฯ: พริ้นเอเบิ้ล; 2563.

ผลการรักษา

ติดต่อเรา

คลินิกคุณหมอบั้ช

หาดใหญ่ สงขลา

เบอร์โทร

098 273 5965

ที่อยู่

688 ถ.สาครมงคล2 หาดใหญ่ สงขลา

เวลาทำการ

จันทร์ 17:00 - 20:00 น.
วันพุธ - ศุกร์ 17:00 - 20:00 น.
วันเสาร์ 13:00 - 18:00 น.
หยุดทุกวันอังคารและอาทิตย์

โรคทั่วไป ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไข้ ไข้หวัด ไข้เรื้อรัง ไข้ไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหารน้ำหนักลด ภูมิแพ้ ระบบทางเดินหายใจ ปอดติดเชื้อ หลอดลมตีบ หลอดลมอักเสบ ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดหลัง ปวดข้อ เครียด กังวล นอนไม่หลับ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน กรดไหลย้อน กระเพาะ ท้องผูก ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน ริดสีดวงทวารหนัก ดีซ่าน ตับ ตับอ่อน ตับแข็ง ไวรัสตับอักเสบ ไขมันเกาะตับ นิ่วในท่อน้ำเดิน มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน ส่องกล้องกระเพาะ ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ตรวจมะเร็ง ตรวจสุขภาพและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ