การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP)

เป็นการรักษาโดยการใช้กล้องส่องเข้าทางปาก ผ่านทางเดินอาหารส่วนต้นไปจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็ก แล้วทำการฉีดสี เพื่อแสดงภาพการถ่ายรังสี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจค้นโรคระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อน และการรักษาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน เช่น การคล้อง หรือขบนิ่วออก ในกรณีที่มีนิ่วในท่อทางเดินน้ำดี หรือทำการระบายการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับอ่อน โดยการขยายรอยตีบและใส่ท่อระบายน้ำดีคาไว้ 

อาการบ่งชี้ในการส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน

1. ผู้ป่วยเป็นโรคดีซ่าน

2. ผู้ป่วยมีนิ่วในท่อทางเดินน้ำดี ท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับอ่อนอุดตัน

3. ผู้ป่วยมีเนื้องอกของท่อทางเดินน้ำดีหรือตับอ่อน

4. ผู้ป่วยมีอาการตับอ่อนอักเสบจากนิ่วในท่อทางเดินน้ำดี

5. มีการรั่วของท่อน้ำดีหรือท่อตับอ่อน


การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน

- งดรับประทานต้านเกร็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด 7 วันก่อนการส่องกล้อง

- งดรับประทานน้ำและอาหารทุกชนิดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนตรวจ


ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน

แพทย์ทำการใส่กล้องส่องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำใส้เล็ก และฉีดสารทึบแสง ถ่ายภาพเอกซเรย์ไว้ เมื่อพบความผิดปกติ เช่น นิ่ว จะดึงนิ่วออก หรือพบว่ามีการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดี หรือท่อตับอ่อน จะใส่ท่อระบายน้ำดีคาไว้

ภาพการฉีดสีท่อน้ำดี


การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน

ภายหลังส่องกล้องต้องนอนพักที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ในช่วงแรกจำเป็นต้องงดน้ำและอาหารเพื่อสังเกตุภาวะแทรกซ้อนจากการส่องกล้อง แล้วจึงค่อยๆเริ่มอาหาร หลังการตรวจผู้ป่วยอาจมีอาการแน่นท้องหรือเจ็บคอ แต่จะดีขึ้นตามลำดับ

เมื่อกลับบ้าน ควรสังเกตอาการผิดปกติเองที่บ้าน เช่น ปวดท้องรุนแรง ท้องแข็ง แน่นอึดอัดท้องมาก หายใจหอบเหนื่อย มีไข้ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที 

ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ตามนัด และในกรณีที่มีอาการแทรกซ้อนหรือแพ้ยา ให้มาพบแพทย์ก่อนนัด

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน

ความเสี่ยงทั่วไป

-เจ็บคอ เกิดจากการเสียดสีของกล้องหรือการใส่ท่อช่วยหายใจขณะส่องกล้อง โดยส่วนใหญ่จะหายเองภายใน 24 ชั่วโมงหลังการส่องกล้อง หรือน้อยกว่านั้น

-ท้องอืด เกิดจากแพทย์ต้องเป่าลมผ่านกล้องเข้าสู่ทางเดินอาหารขณะทำการส่องกล้องเพื่อให้ทำหัตถการได้ง่ายขึ้น โดยอาการจะดีขึ้นเมื่อร่างกายขับลมออกมา

ความเสี่ยงเฉพาะด้าน

-ตับอ่อนอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นร้อยละ 5-15 ขึ้นกับความยากง่ายของหัตถการที่ทำ

-มีภาวะเลือดออกภายหลังหัตถการ โดยปกติเลือดหยุดได้เอง แต่ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาในกลุ่มต้านเกร็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะเลือดออกภายในกระเพาะได้ ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องแจ้งแพทย์ก่อนการส่องกล้อง เพื่อพิจารณาหยุดยาดังกล่าวก่อนการส่องกล้องตามความดุลยพินิจของแพทย์

-ลำไส้ทะลุเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก (น้อยกว่าร้อยละ 1) คนไข้ก็อาจไม่รู้สึกปวดท้องเฉียบพลันทันที เพียงแต่จะอยู่แบบไม่สุขสบาย มีไข้ รู้สึกเหนื่อย หรือชีพจรเต้นเร็ว ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นภายในร่างกายโดยที่ไม่แน่ใจ ให้มาพบแพทย์เพื่อความปลอดภัย 

ผลการรักษา

ติดต่อเรา

คลินิกคุณหมอบั้ช

หาดใหญ่ สงขลา

เบอร์โทร

098 273 5965

ที่อยู่

688 ถ.สาครมงคล2 หาดใหญ่ สงขลา

เวลาทำการ

จันทร์ 17:00 - 20:00 น.
วันพุธ - ศุกร์ 17:00 - 20:00 น.
วันเสาร์ 13:00 - 18:00 น.
หยุดทุกวันอังคารและอาทิตย์

โรคทั่วไป ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไข้ ไข้หวัด ไข้เรื้อรัง ไข้ไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหารน้ำหนักลด ภูมิแพ้ ระบบทางเดินหายใจ ปอดติดเชื้อ หลอดลมตีบ หลอดลมอักเสบ ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดหลัง ปวดข้อ เครียด กังวล นอนไม่หลับ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน กรดไหลย้อน กระเพาะ ท้องผูก ท้องเสีย ลำไส้แปรปรวน ริดสีดวงทวารหนัก ดีซ่าน ตับ ตับอ่อน ตับแข็ง ไวรัสตับอักเสบ ไขมันเกาะตับ นิ่วในท่อน้ำเดิน มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน ส่องกล้องกระเพาะ ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ตรวจมะเร็ง ตรวจสุขภาพและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ